วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเขียนเว็บด้วย frame (ตอนที่ 2)

ขั้นต่อไป พอกำหนดหน้าตาของเว็บแล้ว จะใส่เนื้อหายังไง
เช่น ต้องการแบ่งเป็น 2 คอลัมน์ โดยด้านซ้ายเป็นเมนู
เมนูกว้าง 250 pixel ส่วนด้านขวา ก็ให้มีความกว้างตามพื้นที่ที่เหลือ

โค๊ด:
<FRAMESET cols="250,*">
      <FRAME src="menu.htm">
      <FRAME src="page-01.htm">
</FRAMESET>

ใน <FRAMESET> กำหนดว่าจะแบ่งเป็นกี่ส่วน
ก็จะต้องมี <FRAME src="ชื่อไฟล์ที่จะให้แสดง"> ตามจำนวนที่แบ่งไว้เท่ากัน

ในที่นี้แบ่งไว้ 2 ส่วน คือส่วนเมนู กับส่วนเนื้อหา
ส่วนเมนู คือไฟล์ menu.htm
ส่วนเนื้อหา คือไฟล์ page-01.htm

ทั้งสองไฟล์ ก็สร้างเป็นหน้าเว็บธรรมดานี่แหละ




มาดูกันต่อ ว่า <FRAME src=""> มีการกำหนดค่าอะไรได้บ้าง
name = กำหนดชื่อของ frame เอาไว้ใช้อ้างอิงเวลาที่ต้องการทำ link เพื่อให้แสดงใน frame ที่กำหนด
src = เนื้อหาของไฟล์ที่จะให้ปรากฏอยู่ในเฟรม
noresize ถ้ากำหนดค่านี้ไว้ จะทำให้เฟรมนี้ไม่มีการเปลี่ยนขนาด
scrolling = auto|yes|no เป็นการกำหนดว่าจะให้มี scroll bar หรือเปล่า เมื่อเนื้อหาที่แสดงมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่เฟรมที่กำหนดไว้ให้
frameborder = 1|0 จะให้แสดงขอบของเฟรมหรือไม่
marginwidth = pixels กำหนดว่าจะให้เว้นขอบซ้ายขวาของเนื้อหา กับกรอบของเฟรมเป็นระยะห่างเท่าไหร่
marginheight = pixels กำหนดว่าจะให้เว้นขอบบนล่างของเนื้อหา กับกรอบของเฟรมเป็นระยะห่างเท่าไหร่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น